วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

                   ไปรษณีย์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)


จดหมายอีเลกทรอนิกส์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อีเมล์(E-mail) หมายถึง จดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านระบบเครือข่าย เราสามารถส่งจดหมายไปให้ผู้รับซึ่งเป็นสมาชิกของระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา จดหมายจะส่งถึงปลายทางอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที หรืออาจจะส่งจดหมายฉบับเดียวไปถึงผู้รับหลายคน ในเวลาเดียวกันก็ได้ ทั้งผู้รับและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีที่อยู่เพื่อใช้ในการอ้างอิงการส่งและรับจดหมาย ที่อยู่สำหรับการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วยสองส่วนคือ รหัสผู้ใช้หรือ UserID ซึ่งจะได้รับจากผู้ให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนที่สองคือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการบริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ HostName โดยรูปแบบการเขียนจะเริ่มต้นด้วย UserID คั่นด้วยเครื่องหมาย '@' ตามด้วย HostName ดังนี้ userid@hostname ตัวอย่างเช่น u9999999@dusit.ac.th หมายถึงผู้ใช้มี UserID เป็น u9999999 และเป็นสมาชิกอยู่ที่ Host ชื่อ dusit.ac.th เป็นต้น

จุดเด่นของอีเมล์ คือ สามารถติดไฟล์ไปกับอีเมล์ได้ ซึ่งไฟล์ที่ติดไปนั้นอาจจะเป็นไฟล์ภาพ ไฟล์โปรแกรม หรือไฟล์ข้อมูลก็ได้ เมื่อคุณส่งอีเมล์ไปมันจะวิ่งไปยังปลายทาง ในแทบจะทันที ไม่ว่าปลายทางจะอยู่ห่างจากออไปใกล้เพียงฝ่ามือหรือไกลสุดขอบโลกก็ตาม

ข้อดีของอีเมล์ในสิ่งนี้ทำให้ผู้ที่ต้องติดต่อกับบุคคลในต่างประเทศนิยมที่จะติดต่อผ่านทางอีเมล์ เพราะว่าราคาถูก สะดวดรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีผู้รู้หลายท่านคาดการณ์ว่าต่อไปนามบัตรของผู้คนจะต้องมีอีเมลืแอดเดรสกันทุกคนเช่นเดียวกับที่ต้องมีหมายเลขแฟกซ์ขององค์กรไว้ในนามบัตร

ที่มา  http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์

อินเตอร์เน็ต


อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม



อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร แต่โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี 2512 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA : Defense Research Project Agency ) และในปี 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยสื่อสารของกองทัพ (Defense Communications Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็นครั้งแรก ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NSE) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี 2533 อาร์พาเน็ตรองรับเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาท และเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน และได้มีการเชื่อมเครือข่ายต่างๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนี้

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรักจะยืนยาว

ต้องใช้กาวยี่ห้อความเชื่อใจ



                คบไว้แก้เหงา

เนื้อเพลง : คบไว้แก้เหงา


ศิลปิน : บลูเบอร์รี่ อาร์ สยาม

อัลบั้ม : บลูเบอร์รี่ อาร์ สยาม




มีน้อยก็กินตามน้อย คือคำที่ฉันท่องจนขึ้นใจ

เมื่อเธอยังมีคนอยู่เคียงข้างกาย ได้มองไกล ไกล ก็พอใจแล้ว

ตำแหน่งคือคนแอบรัก ลำดับถึงจะปลายแถว นั่นก็ดีแล้ว ฉันรู้ฉันเป็นใคร

* วันนี้ที่เธอโดนทิ้ง ขอบอกเรื่องจริงให้เธอรู้ว่า

แอบมีความยินดีที่เธอเลิกรา เลยเตรียมตัวมาพูดความในใจ

อย่าห่วงว่าจะผูกมัด ไม่ทำให้ต้องวุ่นวาย ขอไม่มากมาย ช่วยรับฟังเถอะ

** คบไว้แก้เหงาได้นะ ฐานะอะไรก็ได้

จะให้ฉันเป็นอะไร ก็ตามแต่ใจของเธอ

วันหนึ่งเธอมีที่ไป จะจบยังไงรับได้เสมอ

 แค่เป็นตัวเลือกของเธอ ยังดีกว่าเธอไม่เคยมองกัน

ไม่ได้ให้จริงใจ ไม่ได้ให้ผูกพัน มาอยู่ใกล้ฉัน

สักวันสองวันคงไม่เป็นไร

(ซ้ำ * / **/ **)




ที่มา http://www.pleng.com/song.php?song_id=024268